Wednesday, November 2, 2016

Three forex giants hold sway

Three forex giants hold sway

Bundles of riel banknotes sit on a counter at a Ly Hour Exchange branch in central Phnom Penh yesterday afternoon. Hong Menea



A recent study on the role of Cambodia’s moneychangers found that three private forex traders control two-thirds of the total demand for riel currency and exert more influence on foreign currency exchange rates than the central bank, raising the possibility of collusion in fixing rates.

Leng Soklong, an economic researcher at the National Bank of Cambodia (NBC), said during a presentation late last month that the behaviour of just a few large moneychangers in Phnom Penh directly and indirectly influences the operating costs of various economic agents and is the main factor in determining forex rates in other parts of the country.

According to his study, Role of Money Changers in Dollarization: Evidence from Survey, 66 percent of moneychangers said they relied on Phnom Penh-based moneychangers to determine their daily foreign currency exchange rates, compared to just 6 percent who used the NBC’s exchange rates as their benchmark.

“They [moneychangers] have a nationwide network, so they can allocate currency based on the demands of the economy, and they also have influence on the exchange rate transmitted by the central bank,” he said.

According to the study, three big Phnom Penh-based moneychangers, who he did not name, dominate the market and appear to be the main determinant in establishing the daily forex rates observed across the country.

“If there is possibility for collusion or speculation, we don’t know yet,” he said. “We will have to study that.”

NBC director-general Chea Serey explained that three big moneychangers dominate the market in terms of volume and value because local commercial banks conduct very limited foreign exchange transactions.

However, she said in the past two years that trend is rapidly changing, with banks taking up a more central role in forex markets as the result of reforms aimed at promoting tax collection through the banking system.

She expressed scepticism that private parties could manipulate the exchange rate, which she said was determined by market forces.

“Collusion is unlikely because the profit is very minimal and may not justify the cost of doing so,” she said yesterday, adding that forex rates respond to changes in supply and demand.

However, she said that official NBC exchange rates announced each morning influence the rates posted by moneychangers, though this is only one of many factors.

“This official exchange rate is mostly used for government transactions, while private transactions will rely on market rates determined by banks and moneychangers,” she said.

She added that while the NBC has the authority to intervene in forex markets when necessary, it does not “control” the exchange rate, leaving it to the market to decide.

Seing Lim, general manager of Ly Hour Money Exchange, one of the biggest moneychangers in Cambodia, dismissed the possibility of collusion, claiming that her company’s rates were set according to the total circulation or riel in the market and daily exchange rates posted by the central bank.

The company, which operates 10 branches in the capital, also works closely with moneychangers in the provinces, many of which exchange currency at the company’s branches, Lim said.

“We cannot [collude over rates], it is impossible,” she stated, adding that the market was too big for one or a few moneychangers to control, and the central bank would take firm action against any who try. “We run our money exchange business with professionalism, and we are always fair and faithful in our business,” she added.

Lim Koa Try, owner of Try Im Money Exchange in Phsar Nath in Battambang province, said he sets the company’s daily exchange rates based on the rate supplied by moneychangers in Phnom Penh, and not according to those of the central bank.

“We always follow the exchange rate from the big moneychangers in Phnom Penh,” he said. “I don’t work directly with NBC, so we never follow their rates.”

ปิดเว็บหมิ่น 900 URL ไปแล้ว

ปิดเว็บหมิ่น 900 URL ไปแล้ว    

เมื่อวันที่ 2 พ.ย.2559 พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาราชการแทนรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า ภายหลังการพูดคุยร่วมกับเว็บไซต์ยูทูบ , กูเกิล แอพพลิเคชั่นไลน์ และได้สำรวจเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันและไม่เหมาะสม โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วงพบว่า ระหว่างวันที่ 1-12 ต.ค. มีเว็บไซต์ที่กระทำผิดกว่า 200 ยูอาร์แอล และระหว่างวันที่ 13-31 ต.ค. มีเว็บไซต์ที่กระทำผิดประมาณ 1,150 ยูอาร์แอล โดยมีการอาศัยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ปิดไปแล้ว 200 ยูอาร์แอล อยู่ระหว่างกระบวนการทางศาลเพื่อขอให้ปิด 1,150 ยูอาร์แอล ซึ่งศาลมีคำสั่งปิดแล้ว 700 ยูอาร์แอล ทั้งนี้พบว่าเว็บไซต์ยูทูบมีเนื้อหาที่กระทำความผิดคดีหมิ่นสถาบันจำนวนเยอะที่สุด ซึ่งได้รับความร่วมมือในการปิดเยอะที่สุด
  
พล.อ.ประจิน กล่าวอีกว่า ส่วนการขอความร่วมมือกับเฟซบุ๊ก ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานผู้บริหารระดับสูง ที่ดูแลพื้นที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อจะขอเข้าหารือที่ประเทศสิงคโปร์ โดยอยู่ระหว่างรอคำตอบ

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขอความร่วมมือประชาชนหากพบเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมสามารถแจ้งมายังหน่วยงานที่รับผิดชอบ และไม่ควรจะมีการแชร์ข้อมูลต่อ เพราะสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดความผิด พร้อมขอความร่วมมือสื่อมวลชนเสนอข่าวอย่างระมัดระวัง เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดกับบริษัทที่เรากำลังขอความร่วมมืออยู่ ยืนยันว่าเราไม่ได้เข้าไปล้ำเส้นหรือก้าวก่ายบริษัทเหล่านี้ ไม่ได้เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะเข้าใจว่าเว็บไซต์เหล่านี้มีคนเข้าไปใช้บริการจำนวนมาก นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานไซเบอร์ เพื่อทำหน้าที่ประสานฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ โดยมีรองปลัดกระทรวงดีอีเป็นหัวหน้าศูนย์

รวบแล้วสาวขายทองคำออนไลน์ เสียหายมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

รวบแล้วสาวขายทองคำออนไลน์ เสียหายมูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

          ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.)เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 2 พฤศจิกายน  พ.ต.อ.พุฒิพงศ์ มุสิกูล รอง ผบก.ปอศ. พ.ต.อ.ทัศน์ภูมิ จารุปรัชญ์ ผกก.5 บก.ปอศ.และ ร.ต.อ.จรัส แก้วสง่า รองสว.(สอบสวน) กก.5 บก.ปอศ. ร่วมกันจับกุม น.ส.ดลพร อ่อนมิ อายุ 39 ปี อาชีพแม่ค้าขายทองคำออนไลน์ ผู้ต้องหา ตามหมายจับศาลอาญา ลงวันที่ 19 ก.ย. 2559 เลขที่ 1805/2559 ข้อหา “ฉ้อโกงประชาชนและกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน” โดยมีผู้เสียหาย 263 ราย มูลค่าจำนวน 23 ล้านบาทโดยหนึ่งในผู้เสียหายเป็นผู้สื่อข่าวช่อง เวิร์คพอยท์
น.ส.บีม (นามสมมติ) ผู้เสียหาย กล่าวว่า ตนเห็นการโฆษณาประกาศขายทองคำในเฟซบุ๊คของ น.ส.ดลพร ที่จัดเป็นโปรโมชั่นต่างๆ เป็นประจำและมีการจัดมิตติ้งทำบุญต่างๆโดยเสียค่าสมัคร200บาท ตนจึงมั่นใจได้ว่าทาง น.ส.ดลพร เป็นคนดี ต่อมาตนได้สั่งของและโอนเงินไปให้จำนวน 180,000 บาท จนเวลาเลยกำหนด และยังไม่ได้เงินคืนแต่อย่างใด จึงรู้ตัวว่าถูกหลอกจึงเข้าแจ้งความ ทั้งนี้ตนจึงอยากได้เงินคืน เพราะเงินดังกล่าวเป็นเงินเก็บของตนไว้ใช้ในยามจำเป็น
พ.ต.อ.ทัศน์ภูมิ กล่าวว่า เบื้องต้นจะดำเนินตามขั้นตอนตามกฏหมายและจะตรวจสอบทรัพย์สินเส้นทางการเงิน ว่าจะเป็นพรก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 หรือไม่ และจะขยายผลไปยังผู้เกี่ยวข้องถ้าหลักฐานไปถึงผู้ใดก็จะดำเนินการตามกฏหมายทันที ทั้งนี้ทางบก.ปอศ.ยืนยันว่า จะดำเนินการเต็มที่เพื่อเร่งรัดทำสำนวนให้เร็วที่สุด โดยหลังจากนี้จะส่งมอบหลักฐานต่างๆให้กับทาง ปปง.ในการตรวจสอบดังกล่าวถ้ามีการฟอกเงินก็จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
พ.ต.อ.ทัศน์ภูมิ กล่าวต่อว่า ขอฝากประชาสัมพันธ์ถึงผู้เสียหายที่ยังไม่ได้มาร้องเรียนว่าสามารถเดินทางมาร้องเรียนได้ที่ กก.5 บก.ปอศ. ตนเชื่อว่ายังมีผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อถูกหลอกนำเงินไปอีกหลายราย
เบื้องต้นผู้ต้องหายังให้การปฎิเสธขอให้การในชั้นศาลเท่านั้นหลังจากนี้ทางเจ้าหน้าที่ บก.ปอศ. นำตัวผู้ต้องหาฝากขังไว้ที่ศาลอาญาและจะตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

พบมีการทิ้งเศษอาหารใต้ต้นมะขามสนามหลวง

พบมีการทิ้งเศษอาหารใต้ต้นมะขามสนามหลวง

เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 2 พ.ย.2559 ที่ท้องสนามหลวง นายจักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจต้นมะขามบริเวณรอบท้องสนามหลวง หลังจากตรวจพบว่า มีการเทน้ำและทิ้งเศษอาหารที่ใต้ต้นมะขาม ซึ่งจะส่งผลกระทบกับต้นมะขามจำนวนมาก โดยนายจักกพันธุ์ กล่าวว่า ภายในท้องสนามหลวงมีต้นมะขามทั้งหมด 783 ต้น ซึ่งต้นบางต้นนั้นมีอายุมากกว่า 100 ปี ปลูกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยจากการตรวจสอบพบว่า มีต้มมะขามประมาณ 200 ต้น ฝั่งทิศเหนือของท้องสนามหลวง เริ่มได้รับผลกระทบ จึงต้องดำเนินการฟื้นฟู แต่เดิมได้นำถุงกระสอบทรายมาวางปิดทับดินรอยต้นไม้ แต่อาจจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบราก สำนักสิ่งแวดล้อมจึงปรับเปลี่ยนวิธีการแก้ไขปัญหา ในเบื้องต้นนำท่อพีวีซีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว ยาว 50 ซม. แล้วเจาะรูที่ท่อ ฝังลงในดินลึก 40 ซม. รอบต้นไม้ แต่ละต้นจะฝังประมาณ 4-6 ท่อ เพื่อให้รากได้มีอากาศหายใจ หากมีน้ำขังในท่อ ก็จะมีเครื่องมือสำหรับดูดน้ำออกมาจากนั้นก็จะนำอิฐมวลเบาสำหรับการปลูกหญ้า มาวางบนหน้าดิน เพื่อให้ต้นมะขามได้รับออกซิเจนเพิ่มอีกทางด้วย

“ขณะนี้ได้ฟื้นฟูไปแล้ว 50 ต้น คาดว่าจะแล้วเสร็จ 200 ต้นภายใน 15 วัน จากการประเมินของสำนักสิ่งแวดล้อมแล้ว ขณะนี้ต้นมะขามยังไม่ถึงขั้นวิกฤตและยังไม่แห้งตาย แต่ในอนาคตอาจแห้งตายได้ จึงต้องหาวิธีป้องกัน ส่วนปัญหาและอุปสรรคในขณะนี้ เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมาก และมีผู้ประกอบอาหารเทน้ำและทิ้งเศษอาหารลงที่โคนต้นมะขาม การดำเนินการต่างๆจึงล่าช้าไปด้วย ดังนั้นทางกทม.จึงขอความร่วมมือจิตอาสา และประชาชน ให้ช่วยกันรักษาต้นมะขามไว้เป็นมรดกต่อไป” นายจักกพันธุ์ กล่าว